วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เทควันโด, TAEKWONDO

เทควันโด TAEKWONDO
태권도เท-ควอน-โด) เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวเกาหลี
เท แปลว่า เท้า
ควัน 권 แปลว่า มือ
โด แปลว่า วิถีหรือสติปัญญา
เทควันโด ในความหมายโดยทั่วไป หมายถึง การใช้มือและเท้าในการต่อสู่อย่างมีสติ
จากประวัติศาสตร์ซึ่งเผยแพร่ในช่วงแรกนั้น ศิลปะการป้องกันตัวของประเทศเกาหลี มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ. 1955 องค์กรพิเศษได้ถูก จัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณะชนเช่น องค์กรณ์ทางทหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสมาชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพลเช ฮอง ฮี Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด (Taekwondo) มีที่มาจาก เท (เทคียน: Takkyon) และ
ควัน (คองซูโด: Kongsoodo)
ลำดับสายของเทวันโด


  • เริ่ม สายขาว
  • 10th สายเหลือง 1
  • 9th สายเหลือง 2
  • 8th สายเขียว 1
  • 7th สายเขียว 2
  • 6th สายฟ้า 1
  • 5th  สายฟ้า 2
  • 4th สายน้ำตาล 1
  • 3rd สายน้ำตาล 2
  • 2nd สายแดง 1
  • 1st สายแดง 2











  • สำนักคุคคิวอน กำหนดให้มีสายดำทั้งสิ้น 10 ระดับ(DAN ) โดยเริ่มที่ระดับที่ 1 เป็นระดับแรกและใช้เงื่อนไขด้านระยะเวลา และอายุในการพิจารณาในการเลื่อนระดับขั้น (ดั้ง)  ผู้ให้กำเนิดคำว่าเทควันโด - คือ นายพล ชอยฮองไฮ ซึ่ง ปัจจุบันรูปแบบของเทควันโดนี้ ไปอยู่ที่แคนาดา ตั้งสหพันธ์ ITTF เทควันโดเกาหลีใต้เป็นของ WTF เดิมเป็นหนึ่งเดียวกับ สำนักคุกกิวอน โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น KUKKIWON ACADEMY สถาบันการศึกษาเทควันโดโลก โดย ทำหน้าที่ ออกสายดำและตั้งกฎเกี่ยวกับการสอบสาย ประชาสัมพันธ์เทควันโด และ จัด ฮันมาดัง ส่วน WTF แยกออกไปทำหน้าที่ จัดการแข่งขัน วางนโยบายการแข่งขัน ฯลฯ โดยทั้งสองสถาบันก็ยังทำงานร่วมกันอยู่
  • เทควันโดเกาหลี ไม่มีสายน้ำตาล - เทควันโดประกอบด้วย 4 ส่วนที่ต้องเรียนรู้ คือ 1.เคียวรูกิ (การต่อสู้เชิงแข่งขัน) 2.เคียกพ่า (การทดสอบจิตใจด้วยการทำลายสิ่งกีดขวาง) 3.พุมเซ่(การทำท่าสมมติการต่อสู้ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าแพทเทิน ปัจจุบันมีการแข่งขันเป็นสากล) 4.โฮชินซูล (การป้องกันตัวอิสระในชีวิตจริง โดย การใช้มือเปล่าและอาวุธ ) ส่วนมากในประเทศไทย จะมีจะการแข่งขันอยู่ 2 อย่างคือ เคียวรูกิและพุมเซ่ ดำแดง คือ สายดำ ที่อายุไม่ถึง 15 ปี ผู้สอบได้สายดำแดงจะเรียกว่า POOM แทนคำว่า DAN (เพราะพลังทำลายและวุฒิภาวะยังไม่เหมาะสมทางสถาบันจึงไม่อาจให้คาดสายดำได้) - ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนคุกกิวอน สอบนักเรียนเปลี่ยนคุณวุฒิสายสี ต้องมีคุณวุฒิดั้ง 4-10 และสอบนักเรียนเป็นสายดำต้องมีคุณวุฒิดั้ง 6-10และต้องมีรหัสอนุญาตจากคุกกิวอน - ผู้ได้รับสายสี เหลือง1-แดง2 (10ขั้น) เทควันโดเรียกว่า กุ้ป (Gup1-10) โดยไล่ตั้งแต่ Gup10 ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง Gup1 และถึงเปลี่ยนเป็นดั้ง 1 - ดั้ง 10 ประเทศไทยเรียก เหลือง1 เหลือง 2 จนถึง แดง1 และ แดง2 ส่วนดั้งเรียก ดำ1 ถึง ดำ10
  • ค่าสอบสาย
  • สายสี ไม่เท่ากันในแต่ละยิมส์ หรือโรงเรียน ประมาณ 400-700 บาท (ต้องขออภัยถ้าบางที่สอบต่ำกว่าหรือสูงกว่านี้)
  • สายดำ ค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนที่ประเทศเกาหลี   แต่ละที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายอย่างอื่นด้วย เช่น ค่าอบรม ค่ารถในการเดินทาง ค่าขึ้นทะเบียนที่เกาหลี ค่าอาจารย์ผู้สอบ
    ศัพท์เทควันโด
    เทควันโด เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดมาจากชนชาวเกาหลี ถึงแม้เมื่อเผยแพร่เป็นไปทั่วโลกในแง่ของกีฬา แล้วแต่เมื่อมีการแข่งขันก็ยังคงใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษากลางของการแข่งขันเช่นเดียวกับ กีฬาศิลปะการต่อสู้อื่นๆ ที่ใช้ภาษาของตนเป็นภาษากลางในการแข่งขัน เช่น ยูโดก็จะใช้ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

    ในการฝึกประจำวันผู้ฝึกควรพยายามใช้ภาษากลางของเทควันโด ในการสั่งให้เคยชินก็จะมีประโยชน์ในลำดับต่อไป ไม่ว่าในสนามแข่งขัน หรืออาจจะมีโอกาสเดินทางไปร่วมการฝึกที่ประเทศต้นกำเนิดของเทควันโดก็จะสามารถสื่อสารกันง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักจะใช้ชื่อท่าต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ซึ่งเข้าใจได้เร็วกว่า แต่ถ้าใช้ชื่อ หรือคำสั่งเป็นภาษาเกาหลีแล้วจะสามารถสื่อกันได้ชัดเจนกว่าเรา เพราะในตัวคำสั่งจะสื่อถึงท่าทาง และเทคนิคได้โดยตรง

    ในช่วงที่ครูได้มีโอกาสไปฝึกซ้อมภาคปฏิบัติ และอบรมภาคทฤษฎีที่สถาบันเทควันโดโลกกุกกิวอน และสหพันธ์เทควันโดโลกที่เกาหลีหลายครั้งได้เห็นความจำเป็นในเรื่องนี้อย่างแท้จริง จึงขอรวบรวมศัพท์เทคนิคทางเทควันโดมาให้ศึกษากัน ในที่นี้ โดยจะนำศัพท์ที่จำเป็นเบื้องต้น รวมไว้ช่วงแรกพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ และในช่วงต่อไปเป็นคำศัพท์ที่มากขึ้นซึ่งรวบรวมไว้ โดย พันเอกนายแพทย์ศุภกิตติ ขัมพานนท ซึ่งท่านผู้นี้นับเป็นนักวิชาการเทควันโดที่แท้จริงท่านหนึ่ง
    คำศัพท์ที่ใช้บ่อย
    - การเข้าแถวเคารพธง กุกกิเอ เดฮาโย เคียงเง่ คือ การเข้าแถวทั้งหมดหันหน้าหาหน้าชั้นเรียนที่มีธงชาติ และรูปเคารพแขวนอยู่แล้วสั่งเคารพพร้อมกัน เน้นคำว่า เคียงเง่- การเคารพอาจารย์ แชเรียต ควานจังนิมเกะ เคียงเง่ คือการเข้าแถวเคารพอาจารย์ใหญ่ (เจ้าสำนัก) โดยมากคืออาจารย์ ดั้ง 6 ขึ้นไป แชเรียต คือสั่งตรง ความจังนิม คืออาจารย์ใหญ่ เกะ คือหมายถึงที่นั่น และ เคียงเง่ คือเคารพ ถ้าสั่งเคารพอาจารย์สายดำผู้สอนก็เปลี่ยนจาก ความจังนิม เป็น ซา บม นิม

    - สั่งตรง เคารพ แชเรียต เคียงเง่ ใช้ตรง เคารพทั่วไปเช่น การเข้าคู่เตรียมซ้อม

    - ท่าเตรียม จุนบี ถ้าในเวลาฝึกทั่วไปคือท่าแยกเท้ากว้างเท่าสะโพกยกมือขึ้นระดับลิ้นปี่แล้วกำหมัดลดลง
    มาคู่กันอยู่ที่ท้องน้อย แต่ถ้าสถานการณ์ต่างๆจะใช้ไม่เหมือนกันคือ
    - ในสนามแข่งขันต่อสู้ จุนบี คือท่าการ์ดเตรียมแข่งขันต่อสู้
    - พูมเซ่ จุนบี คือการทำท่าจุนบีแบบช้าๆ เน้นสมาธิ เดินลมหายใจ เตรียมรำ พูมเซ่
    - เคียรูกิ จุนบี คือการ์ดเตรียมต่อสู้ในการฝึกซ้อมต่อสู้
    - เคี๊ยกพ่า จุนบี คือการ์ดเตรียมการสาธิตการทำลายต่างๆ เพราะฉะนั้นจะทำท่าค่อนข้างการ์ดกว้างกว่าท่าการ์ดต่อสู้

    - เริ่ม ชีจั๊ก ใช้สั่งให้เริ่มทำได้ เช่นเริ่มแข่งขัน เริ่มรำพูมเซ่โดยไม่นับจังหวะ เริ่มฝึกซ้อมตามท่าที่สั่งโดย
    ไม่นับจังหวะ เพราะฉะนั้นเมื่อสั่ง ชีจั๊กแล้วไม่ควรจะต้องนับ 1 2 3 ซ้ำซ้อนอีก

    - หยุด คือมาน เป็นคำสั่งให้หยุดทั่วๆไป เช่นเรียกให้หยุดหลังจากกำลังฝึกเข้าคู่ต่อสู้กันอยู่ หรือผู้ตัดสินสั่ง
    หยุดการแข่งขันตอนหมดยก

    - กลับที่เดิม กลับท่าเริ่ม บาโร
    ใช้สั่งให้กลับมาท่าเริ่ม เช่น สั่งกลับมาท่า จุงบี เวลารำพูมเซ่เสร็จแล้ว (หลายๆคน ใช้คำว่า คือมาน ที่จริงควรใช้ บาโร) หรือเสร็จการแสดง สาธิตท่าสเตปสแปริ่งทีละท่าจบลง

    - พัก ชิโอะ ใช้สั่งเวลาต้องการให้แยกย้ายไปพัก

    - กลับหลังหัน ดิโร โดรา สั่งให้กลับหลังหันโดยต้องหมุนไปทางขวา

    - นับ 1 ถึง 10 ใช้นับให้ปฏิบัติท่าทางต่างๆ พร้อมกัน ฮานา ตุล เซท เนท ทัส ยัส อิลโกบ
    ยัลเดิล อาโฮบ เยิ้ล


    - ลำดับต่างๆ 1 ถึง 10 ใช้เรียกลำดับขั้น เช่น พูมเซ่ที่ 1 2 3..... อิล อี ซัม ซา โอ ยุค ซิล พัล กู ซิบ
    การเรียกลำดับพูมเซ่ (แพทเทอร์น) ที่ถูกต้อง การสอบเลื่อนสายในแต่ละขั้น จะมีการร่ายรำพูมเซ่ประจำสายของตน ซึ่งเป็นท่ารำมาตรฐานของสถาบันเทควันโดโลกกุกกิวอน โดยมีพูมเซ่อยู่ 2 กลุ่ม คือ เทกุค และ พัลเก

    ปัจจุบันทั่วโลกจะใช้เทกุค 8 ชุดเป็นมาตรฐาน จะมีบ้างบางประเทศที่ใช้พัลเก ซึ่งเป็นพูมเซ่ที่เก่าแก่กว่า แต่ในประเทศไทยนับว่าพิเศษกว่า ประเทศต่างๆ คือจะรำทั้งหมด 10 พูมเซ่ โดยใช้เทกุค 1-8 และต่อด้วยพัลเก 7 และพัลเก 8 แต่มักเรียกผิดโดยเรียกพัลเก 7 เป็นเทกุค 9 และเรียกพัลเก 8 เป็นเทกุค 10 ซึ่งเป็นการเรียกที่ผิดพลาดทั้ง 2 พูมเซ่

    ฉะนั้นเวลาจะขานชื่อพูมเซ่ (แพทเทอร์น) 9 ต้องเรียก พัลเก ซิลจัง (ไม่ใช่ เทกุค กู จัง) พูมเซ่ (แพทเทอร์น) 10 ต้องเรียก พัลเก พัลจัง (ไม่ใช่ เทกุค ซิบจัง)
    พูมเซ่มาตรฐานในปัจจุบัน พูมเซ่ดั้งเดิม(ใช้บางประเทศ) ประเทศไทยใช้ 10 พูมเซ่
    เทกุค Taegeuk มี 8 ชุด พัลเก Palgwe มี 8 ชุด1. เทกุค อิล จัง 1. พัลเก อิล จัง แพทเทอร์น 1. เทกุค อิล จัง

    2. เทกุค อี จัง 2. พัลเก อี จัง แพทเทอร์น 3. เทกุค ซัม จัง

    4. เทกุค ซา จัง 4. พัลเก ซา จัง แพทเทอร์น 4. เทกุค ซา จัง

    5. เทกุค โอ จัง 5. พัลเก โอ จัง แพทเทอร์น 5. เทกุค โอ จัง

    6. เทกุค ยุค จัง 6. พัลเก ยุค จัง แพทเทอร์น 6. เทกุค ยุค จัง

    7. เทกุค ซิล จัง 7. พัลเก ซิล จัง แพทเทอร์น 7. เทกุค ซิล จัง

    8. เทกุค พัล จัง 8. พัลเก พัล จัง แพทเทอร์น8. เทกุค พัล จัง

    แพทเทอร์น 9. พัลเก ซิล จัง

    แพทเทอร์น 10.พัลเก พัล จัง
    หมายเหตุ  ข้อมูลบางส่วนอาจคลาดเคลื่อนได้ต้องขออภัยมา ณที่นี้ด้วย
  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น